พนักงานขาย อย่าแน่นิ่งมิฉะนั้น ธุรกิจ นิ่งแน่!


          นช่วงเวลานี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะได้ยินข่าวกันอย่างถ้วนหน้า เกี่ยวกับ ธุรกิจที่ฝืดเคือง ซึ่งก็เป็นตามรสนิยมฝรั่งที่ครองบ้าน ครองเมือง จนออกอาการ ที่เรียกกันว่า..แฮมเบอร์เกอร์ไครซีส (Hamburger Crisis) จนไม่ว่าจะเอาน้ำมันหล่อลื่นเบอร์ไหน เบอร์ไหน มาหยอด มากระตุ้นก็แทบจะไม่อยากจะเคลื่อนไหว
          ทำให้บางครั้งผลออกมาเป็นคลื่นที่เรียกว่าเครื่องกระตุ๊ก กระตุ๊ก เป็นระยะๆ ตามความแรงของมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมา แต่แนวคิดในระดับผู้ประกอบการอย่างเรา ๆ จึงเป็นความสำคัญของผู้ประกอบการอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่จะพิจารณาเลือกถึงวิธีที่เหมาะสม นำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการแก้ปัญหา (Value in Crisis) หมายถึงหลักการแก้ปัญหาที่ดีนั้น ต้องมีมูลค่าที่จะทำให้องค์กรนั้นมีเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่การมองในเรื่องของการกำจัดหรือรัดเข็มขัดเพียงอย่างเดียว นโยบายของภาคอุตสาหกรรมต้องกลับมามองว่ากิจกรรมใดที่จะสามารถสร้างทำให้เกิด การหมุนเวียนกลับมาเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ จึงพึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง อย่าได้หยุด อย่าได้ละเว้น เพราะถ้าธุรกิจนั้นหยุดกิจกรรมการสร้างคุณค่าลง ก็จะทำให้ตกอยู่ในสภาวะถดถอย และเมื่อเศรษฐกิจกลับมาดีอีกครั้ง ก็อาจจะทำให้ตนเองนั้นตกขบวนไป ตามไม่ทันผู้อื่น ซึ่งคนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ สามารถสังเกตได้ว่าธุรกิจเกิดขึ้นไปและเจริญเติบโตไปได้ดีนั้นจำนวนไม่น้อย ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 และมีบริษัทที่ประสบความสำเร็จเกิดติด ๆ กันในช่วง 1-2 ปีที่ต่อมา เป็นจำนวนมาก และทำให้ได้รับอานิสงมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังนั้นการที่หลายธุรกิจกำลังตกอยู่ในสภาวะที่มีความกังวล หวั่นกลัว โดยไม่คิดที่จะทำอะไรเลยจึงไม่เป็นสิ่งที่ถูกมากนัก เพราะเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นอีกครั้ง คลื่นลูกใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในวงการหรือไม่อยู่ในวงการก็จะเกิดขึ้นและแซงหน้าเราไปอย่างน่า เสียดาย ดังนั้นกิจกรรมหลัก ๆ ที่ผู้ประกอบการพึงกระทำคือเป็นเวลาที่ดีที่จะกลับมามองตนเอง มองธุรกิจว่าที่ผ่านมาเป็นเช่นไร อะไรที่เป็นประโยชน์มากแต่ยังไม่ได้ทำ เพราะยุ่งเหลือเกินในช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้น ที่พบกันบ่อย ๆ คือระบบงานที่ยังไม่มีความพร้อมดีนัก เริ่มต้นตั้งแต่ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบการทำงาน การวางแผนงาน ระบบการให้บริการอย่างมืออาชีพ รวมถึงระบบมาตรฐานต่าง ๆ รวมถึงการดูแลระบบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานไม่กดดันเมื่อต้องทำงาน มีความสุขเพียงพอต่อการที่จะเข้ามาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ว่าทำงานไปเป็นห่วงลูกเล็กที่บ้านไป..การพัฒนาระบบเป็นเรื่องที่ทุกคน ในองค์กรที่ต้องรับรู้ มีบางองค์กรถือเวลาในช่วงนี้ แทนที่จะลดจำนวนพนักงานลง กลับใช้วิธีการคัดเลือกหัวกระทิของแต่ละแผนก เรียกได้ว่าถ้าเป็นนักเรียนก็นักเรียนเกรด A ในแต่ละแผนก ประมาณ 10 % มารวมตัวกัน รวมกันคิดวิธีการลดต้นทุนให้องค์กร โดยอาจจะมี KPI คือลดต้นทุนขององค์กรลง 10% ในเดือนที่ 1 และต่อ ๆ ไป หรือการช่วยกันคิดเรื่องการวางระบบงาน การยกระดับระบบการให้บริการอย่างมืออาชีพ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ที่เป็นผลจากการสร้างความสุขให้พนักงาน ทำงานจัดทำโครงสร้างการบริหารงานบุคคล การวางระบบประเมินใหม่ หรือแม้แต่การกลับมาทบทวนเรื่อง 5 ส. และ ISO ให้มีความแน่นและแม่นยำเพิ่มมากขึ้น

          อีกประการหนึ่งที่ทุกองค์กรนั้นต้องกลับมาให้ความสำคัญควบคู่กันไปกับ กิจกรรมข้างต้น คือการสร้างศักยภาพทางความคิด ความรู้ ความชำนาญให้กับพนักงาน การเติมเต็มความรู้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงแค่การเรียนรู้ที่ทำกันอย่างไปวัน ๆ กระบวนการการเรียนรู้เชิงลึกที่เรียกว่าระบบโค้ชชิ่ง(Coaching) นั้น ต้องถูกป้อนให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง ขาดไม่ได้ เพราะองค์ความรู้เหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการต่อเติม กิจกรรมการสร้างระบบให้องค์กร ทำให้ได้แนวทางการแก้ไขที่ไปถูกทาง อาจจะมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่ผลที่ได้คือการเติมเติมมูลค่าเพิ่มให้กับทีมงาน และในที่สุดก็จะไหลย้อนกลับมายังองค์กรหรือทีมงาน..เมื่อถึงเวลานั้นล่ะ.. ฮึม!..ฮึม!.. อาจจะต้องซื้อตู้เซฟไว้หลายใบหน่อย..ไว้คอยเก็บเงินที่จะไหลมาอย่างเทน้ำ.. เทท่า..ฮึ..ฮึ..แล้วอย่างลืมกันล่ะ..เป็นกำลังใจให้เสมอคร๊าบ.บ.บ


อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 8 ฉบับที่ 178 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-30 เมษายน 2553
อ้างอิงรูปภาพ :  www.newspapersperu.info

0 Response to "พนักงานขาย อย่าแน่นิ่งมิฉะนั้น ธุรกิจ นิ่งแน่!"

แสดงความคิดเห็น